วันเสาร์ที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 3



แบบฝึกหัด
คำสั่ง หลังจากนักเรียนได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542
การศึกษา
ตอบ  การเรียนรู้ของบุคคลและสังคมโดยการถ่ายทอดความรู้ การฝึกการอบรม การสร้างองค์ความรู้อันเกิดจากการ การเรียนรู้ และปัจจัยเกื้อหนุนให้บุคคลเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต
การศึกษาขั้นพื้นฐาน
ตอบ การศึกษาก่อนระดับอุดมศึกษา การศึกษาต้องเป็นไปตามลำดับขั้นตอนของการศึกษาไม่สามารถข้ามขั้นได้
การศึกษาตลอดชีวิต
ตอบ  การศึกษาที่สามารถพัฒนาคุณภาพชีวิตได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยเกิดจากการผสมผสานระหว่างการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบการศึกษาตามอัธยาศัย
มาตรฐานการศึกษา
ตอบ  ข้อกำหนดเกี่ยวกับคุณลักษณะคุณภาพที่พึงประสงค์และมาตรฐานที่ต้องการให้เกิดขึ้นในสถานศึกษา และเพื่อใช้เป็นหลักในการเปรียบเทียบสำหรับส่งเสริมและกำกับดูแล การตรวจสอบ การประเมิน และการประกันคุณภาพทางการศึกษา
การประกันคุณภาพภายใน
ตอบ  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายใน โดยบุคลากรของสถานศึกษานั้นเอง หรือหน่วยงานต้นสังกัดที่มีหน้าที่กากับดูแลสถานศึกษานั้น
การประกันคุณภาพภายนอก
ตอบ  การประเมินผลและการติดตามตรวจสอบคุณภาพและมาตรฐานการศึกษาจากภายนอก โดยสานักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาหรือบุคคลหรือหน่วยงานภายนอกที่สานักงานดังกล่าวรองรับ เพื่อเป็นการประกันคุณภาพ และให้มีการพัฒนาคุณภาพและมาตรฐานของสถานศึกษา
ผู้สอน
ตอบ  ครูและคณาจารย์ในสถานศึกษาระดับต่าง ๆ
ครู
ตอบ  บุคลากรวิชาชีพซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการเรียนการสอนและการส่งเสริมการเรียนรู้ของผู้เรียนด้วยวิธีการต่าง ๆ ในสถานศึกษาทั้งของรัฐและเอกชน
คณาจารย์
ตอบ  บุคลากรซึ่งทาหน้าที่หลักทางด้านการสอนและการวิจัยในสถานศึกษาระดับอุดมศึกษาและระดับปริญญาของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารสถานศึกษา
ตอบ  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารสถานศึกษาแต่ละแห่งทั้งของรัฐและเอกชน
ผู้บริหารการศึกษา
ตอบ  บุคลากรวิชาชีพที่รับผิดชอบการบริหารการศึกษานอกสถานศึกษาตั้งแต่ระดับเขตพื้นที่การศึกษาขึ้นไป
บุคลากรทางการศึกษา
ตอบ  ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา รวมทั้งผู้สนับสนุนการศึกษาซึ่งเป็นผู้ทาหน้าที่ให้บริการ หรือปฏิบัติงานเกี่ยวเนื่องกับการจัดกระบวนการเรียนการสอน การนิเทศและการบริหารการศึกษาในหน่วยงานการศึกษาต่าง ๆ  

2. ความมุ่งหมายและหลักการจัดการศึกษาได้กำหนดไว้ในพระราชบัญญัติการศึกษานี้อย่างไรบ้างให้อธิบาย
ตอบ  การจัดการศึกษาต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิตสามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข

 3. หลักการจัดการศึกษาประกอบด้วยอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ     (1) เป็นการศึกษาตลอดชีวิตสาหรับประชาชน
          (2) ให้สังคมมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา
(3) การพัฒนาสาระและกระบวนการเรียนรู้ให้เป็นไปอย่างต่อเนื่อง

4. การจัดระบบ โครงสร้าง และกระบวนการจัดการศึกษา ตามที่กฎหมายกำหนดมีอะไรบ้าง
ตอบ     (1) มีเอกภาพด้านนโยบาย และมีความหลากหลายในการปฏิบัติ
(2) มีการกระจายอำนาจ ไปสู่เขตพื้นที่การศึกษา สถานศึกษาและองค์กรปกครองส่วน
ท้องถิ่น
(3) มีการกำหนดมาตรฐานการศึกษา และจัดระบบประกันคุณภาพการศึกษาทุกระดับและ
ประเภทการศึกษา
(4) มีหลักการส่งเสริมมาตรฐานวิชาชีพครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษา และการ
พัฒนาครู คณาจารย์และบุคลากรทางการศึกษาอย่างต่อเนื่อง
(5) ระดมทรัพยากร จากแหล่งต่าง ๆ มาใช้ในการจัดการศึกษา
(6) การมีส่วนร่วม ของบุคคล ครอบครัว ชุมชน องค์กรชุมชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น
เอกชน องค์กรเอกชน องค์กรวิชาชีพ สถาบันศาสนา สถานประกอบการ และสถาบันสังคมอื่น

5. สิทธิและหน้าที่ทางการศึกษา ที่กำหนดไว้ในกฎหมายมีอะไรบ้าง
ตอบ  มีสาระสำคัญของหมวดนี้ มีดังนี้ (มาตรา 10-14) (คาหมาน คนไค, 2543, 31)
1. การจัดการศึกษา ต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษาขั้นพื้นฐานไม่น้อยกว่า 12 ปี อย่างทั่วถึง (Education for all) มีคุณภาพ (Educational Quaality) และไม่เก็บค่าใช้จ่าย (Free Education) (สานักงานปลัดกระทรวงศึกษาธิการ, 2542, 17)
2. บุคคลที่มีความบกพร่องทางร่างกาย จิตใจ สติปัญญา อารมณ์สังคม ผู้ด้อยโอกาสและผู้มีความสามารถพิเศษ มีสิทธิได้รับการศึกษาขั้นพื้นฐานเป็นพิเศษ
3. พ่อแม่ ผู้ปกครอง บุคคล ครอบครัว องค์กรชุมชน องค์กรเอกชน สถานประกอบการ สถาบันศาสนาและสถาบันอื่น ๆ มีสิทธิจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานให้แก่บุตรหลานของตนหรือบุคคลทั่วไป ผู้จัดการศึกษาขั้นพื้นฐานดังกล่าวมีสิทธิได้รับการสนับสนุนและเงินอุดหนุนจากรัฐ รวมทั้งได้รับการลดหย่อนภาษีหรือยกเว้นภาษี ตามที่กฎหมายกำหนด

6. ระบบการศึกษามีกี่รูปแบบแต่ละรูปแบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  มี 3 รูปแบบ การศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ การศึกษาตามอัธยาศัย

7. การจัดการศึกษาในระบบมีอะไรบ้าง จงอธิบาย
ตอบ  สถานศึกษาแต่ละแห่งสามารถจัดการศึกษาได้ 3 รูปแบบหรือรูปแบบใดรูปแบบหนึ่งซึ่งทั้ง 3 รูปแบบนี้สามารถเทียบโอนกันได้

8. สถานศึกษาที่เป็นนิติบุคคลเป็นอย่างไร
ตอบ  เพื่อให้การบริหารสถานศึกษาสนองการปฎิรูปด้านระบบรายากรให้ประชาชนพึงพอใจในการบริการของรัฐมากขึ้น ซึ้งเรียกกันโดยทั่งไปว่าธรรมมาภิบาล

9. แนวทางการจัดการศึกษามีหลักยึดอะไรบ้าง
ตอบ  ในหมวด 4  ว่าด้วยแนวการจัดการศึกษา  จะกล่าวถึงหลักการสำคัญของการจัดกระบวนการเรียนการสอน (มาตรา 22)  ซึ่งรวมถึงจุดมุ่งหมายและสาระเนื้อหาของหลักสูตร (มาตรา 23 และ 27)  กระบวนการจัดการ (มาตรา 24) และการประเมินผล (มาตรา 25)  องค์กรที่จัดทำหลักสูตร (มาตรา 26) และเงื่อนไขของความสำเร็จอื่นๆ  ไม่ได้กล่าวโดยตรงว่า ต้องยึดหลักนักเรียนเป็นศูนย์กลางของการเรียนการสอน เพราะอาจจะสร้างปัญหาเชิงกฎหมายในการบังคับใช้  และการตีความ  นอกจากนั้นในปรัชญาการเรียนการสอนควรหลีกเลี่ยงแนวคิดแบบสุดโด่งที่แยกขั้วระหว่างการเรียนของนักเรียน และการสอนของครูมาตรา 22  จึงกล่าวอย่างเป็นกลางๆ ไว้โดย "ถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด"

10. ท่านเห็นด้วยหรือไม่ที่กำหนดให้ครู ผู้บริหารสถานศึกษา ผู้บริหารการศึกษา ทั้งรัฐและเอกชนจะต้องมีใบประกอบวิชาชีพ
ตอบ  เห็นด้วย

11. มีวิธีการระดมทรัพยากรเพื่อพัฒนาการศึกษาในท้องถิ่นของท่านได้อย่างบ้าง
ตอบ  ต้องวางแผนและเรียกประชุมเพื่อแสดงความคิดเห็น และหาสาเหตุที่จะต้องพัฒนาการศึกษาให้ครบทุกด้าน

12. การพัฒนาสื่อและเทคโนโลยีเพื่อการศึกษา มีวิธีการพัฒนาได้อย่างไร
ตอบ ผลิตสื่อที่ดึงดูดให้เด็กมีสนใจ ควรมีสื่อที่หลากหลายเพื่อที่จะทำให้เด็กอยากเรียนรู้และสนใจที่จะเรียนและแสดงความคิดอย่างเต็มที่ สื่อที่หลากหลายยังชวนให้เด็กมีความสนใจเพราะเด็กเป็นวัยที่อยากเรียนรู้สิ่งใหม่ๆอยู่ตลอดเวลา

วันอังคารที่ 26 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 2


แบบฝึกหัด
คำสั่ง หลังจากนักเรียนได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง

1. ท่านคิดว่าทำไมมนุษย์เราต้องมีกฎหมาย หากไม่มีจะเป็นอย่างไร
                ตอบ การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้า สังคมมนุษย์จะไม่อาจดำรงอยู่ได้ ความมีเหตุผลเป็นพื้นฐานที่สังคมมนุษย์พัฒนาการจากสังคมเล็กที่สุด คือครอบครัวไปสู่สังคมที่ใหญ่ที่สุดคือ รัฐ จึงทำให้มนุษย์สร้างกฎเกณฑ์ ระเบียบแบบแผนขึ้น เพื่อเป็นแนวทางในการควบคุมควบความประพฤติสมาชิกในสังคมรวมและเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม

2. ท่านคิดว่าสังคมปัจจุบันจะอยู่ได้หรือไม่หากไม่มีกฎหมายและจะเป็นอย่างไร
          ตอบ หากสังคมปัจจุบันไม่มีกฎหมาย แน่นอนว่าสังคมจะอยู่ไม่ได้ เพราะหากไม่มีกฎหมายที่จะใช้บังคับกับมนุษย์ที่กระทำความผิด ก็จะก่อให้เกิดความวุ่นวาย คนที่มีโอกาสมากกว่าก็จะเอาเปรียบ โดยผู้น้อยก็ไม่มีสิทธิ์เรียกร้องอะไร ความสงบสุขก็จะหายไปเพราะสังคมอยู่ไม่ได้ หากไม่มีกฎหมายจะเป็นบ้านเมืองที่วุ่นวาย มีปัญหาต่างๆ เกิดขึ้นเช่น การปล้น  การฆ่า การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ก่อให้เกิดความขัดแย้ง มีการทะเลาะวิวาท ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน การข่มขืนทุกวันมีการแย่งชิงอิทธิพลความเป็นใหญ่ คนที่ทำผิดก็ไม่ต้องรับโทษผู้ที่มีอิทธิพลจะอยู่สบายคอยกดขี่ข่มเหงผู้อื่นเป็นบ้านเมืองป่าเถื่อน กลับกลายให้สังคมที่พัฒนามาจากอดีตจนถึงปัจจุบัน เปลี่ยนไปเป็นอดีตอีกครั้งหนึ่ง เพราะความวุ่นวาย การแบ่งพักแบ่งพวก ความเห็นแก่ตัวของมนุษย์ในสังคมไม่มีที่สุดสิ้น

3. ท่านมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับประเด็นของกฎหมายต่อไปนี้
ก. ความหมาย      
ตอบ กฎหมาย คือ คำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาธิปไตย จากคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุดของรัฐ เป็นข้อบังคับใช้กับคนทุกคนที่อยู่ในรัฐหรือประเทศนั้นๆ จะต้องปฏิบัติตามและมีสภาพบังคับที่มีการกำหนดบทลงโทษ
ข. ลักษณะหรือองค์ประกอบของกฎหมาย      
ตอบ 1. เป็นคำสั่งหรือข้อบังคับที่เกิดจากรัฎฐาอธิปไตยที่องค์กรหรือคณะบุคคลที่มีอำนาจสูงสุด อาทิรัฐสภาฝ่ายนิติบัญญัติหัวหน้าคณะปฏิวัติกษัตริย์ในระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์สามารถใช้อำนาจบัญญัติกฎหมายได้ เช่นรัฐสภาตราพระราชบัญญัติ คณะรัฐมนตรี ตราพระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา คณะปฏิวัติออกคำสั่งหรือประกาศคณะปฏิวัติชุดต่างๆถือว่าเป็นกฎหมาย
2. มีลักษณะเป็นคำสั่งข้อบังคับอันมิใช่คำวิงวอนประกาศหรือแถลงการณ์ อาทิประกาศของกระทรวงศึกษาธิการ คำแถลงการณ์ของคณะสงฆ์ ให้ถือเป็นแนวปฏิบัติมิใช่กฎหมาย สำหรับคำสั่งข้อบังคับที่เป็นกฎหมาย เช่นพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 พระราชบัญญัติการศึกษาภาคบังคับ พ.. 2545 พระราชกำหนดบริหารราชการฉุกเฉิน พ.. 2548 เป็นต้น
3. ใช้บังคับกับคนทุกคนในรัฐอย่างเสมอภาคเพื่อให้ทุกคนเกรงกลัวและถือปฏิบัติสังคมจะสงบสุขได้เช่นกฎหมายที่เกี่ยวกับภาษีเงินได้ใช้บังคับกับผู้ที่มีเงินได้ แต่ไม่บังคับเด็กที่ยังไม่มีเงินได้การแจ้งคนเกิดภายใน 15 วันแจ้งคนตายภายใน 24 ชั่วโมงยื่นแสดงตนเพื่อลงบัญชีทหารกองเกินเมื่ออายุย่างเข้า 18 ปีเข้ารับการตรวจคัดเลือกเป็นทหารประจาการเมื่ออายุย่างเข้า 21 ปีเป็นต้น
4. มีสภาพบังคับซึ่งบุคคลจะต้องปฏิบัติตามกฎหมายโดยเฉพาะการกระทาและการงดเว้นการกระทำตามกฎหมายนั้นๆ กำหนดหากฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามฝ่าฝืน อาจถูกลงโทษหรือไม่ก็ได้ และสภาพบังคับในทางอาญาคือโทษที่บุคคลผู้ที่กระทำผิดจะต้องได้รับโทษ เช่นรอลงอาญาปรับจาคุกกักขังริมทรัพย์ แต่หากเป็นคดีแพ่งผู้ฝ่าฝืนไม่ปฏิบัติตามกฎหมาย จะต้องชดใช้ค่าสินไหมทดแทนหรือค่าเสียหายหรือชำระหนี้ด้วยการส่งมอบทรัพย์สินให้กระทำหรืองดเว้นกระทำอย่างใดอย่างหนึ่งตามมูลหนี้ที่มีต่อกันระหว่างเจ้าหนี้และลูกหนี้ เช่นบังคับใช้หนี้เงินกู้พร้อมดอกเบี้ยบังคับให้ผู้ขายส่งมอบหรือโอนทรัพย์สินให้แก่ผู้ซื้อตามสัญญาซื้อขายเป็นต้น
ค. ที่มาของกฎหมาย 
ตอบ 1. บทบัญญัติแห่งกฎหมาย เป็นกฎหมายลักษณ์อักษร เช่นกฎหมายประมวลรัษฎากรรัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง เทศบัญญัติ ซึ่งกฎหมายดังกล่าวผู้มีอำนาจแห่งรัฐหรือผู้ปกครองประเทศเป็นผู้ออกกฎหมาย
2. จารีตประเพณี เป็นแบบอย่างที่ประชาชนนิยมปฏิบัติตามกันมานาน หากนำไปบัญญัติเป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรแล้วย่อมมีสภาพไปเป็นกฎหมาย เช่น การชกมวยเป็นกีฬา หากชนตามกติกา หากคู่ชกบาดเจ็บสาหัสหรือถึงแก่ชีวิต ย่อมไม่ผิดฐานทำร้ายร่างกายหรือฐานฆ่าคนตาย อีกกรณีหนึ่งแพทย์รักษาคนไข้ ผ่าตัดขาแขน โดยความยินยอมของคนไข้ ย่อมถือว่าไม่มีความผิดเพราะเป็นจารีตประเพณีที่ปฏิบัติต่อกันมา ปฏิบัติโดยชอบตามกติกาหรือเกณฑ์หรือจรรยาบรรณที่กำหนดจึงไม่ถือว่าเป็นความผิดทางกฎหมาย
3. ศาสนา เป็นข้อห้ามและข้อปฏิบัติที่ดีของทุกๆ ศาสนาสอนให้เป็นคนดี เช่น ห้ามลักทรัพย์ ห้ามผิดลูกเมีย ห้ามทาร้ายผู้อื่น กฎหมายจึงได้บัญญัติตามหลักศาสนาและมีการลงโทษ
4. คำพิพากษาของศาลหรือหลักบรรทัดฐานของคำพิพากษา ซึ่งคาพิพากษาของศาลชั้นสูงเป็นแนวทางที่ศาลชั้นต้นต้องนาไปถือปฏิบัติในการตัดสินคดีหลังๆ ซึ่งแนวทางเป็นเหตุผลแห่งความคิดของตนว่าทำไมจึงตัดสินคดีเช่นนี้ อาจนาไปสู่การแก้ไขกฎหมายในแนวความคิดนี้ได้ จะต้องตรงตามหลักความจริงมากที่สุด
5. ความเห็นของนักนิติศาสตร์ เป็นการแสดงความคิดเห็นของว่าสมควรที่จะออกกฎหมายอย่างนั้น สมควรหรือไม่ จึงทาให้นักนิติศาสตร์ อาจจะเป็นอาจารย์ผู้มีชื่อเสียงในกฎหมายได้แสดงความคิดเห็นว่ากฎหมายฉบับนั้นได้ ในประเด็นที่น่าสนใจเพื่อที่จะแก้ไขกฎหมายให้เกิดประโยชน์สูงสุดกับประชาชน
ง. ประเภทของกฎหมาย    
ตอบ การแบ่งประเภทกฎหมายที่จะนำไปใช้นั้นมีรูปแบบและลักษณะที่แตกต่างกัน การแบ่งประเภทกฎหมายที่ใช้ในประเทศไทยขึ้นอยู่ใช้หลักใดจะขอกล่าวโดยทั่วไป ดังนี้
ก. กฎหมายภายในมีดังนี้ 
1. กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร 
   1.1 กฎหมายที่เป็นลายลักษณ์อักษรแบ่งโดยยึดเนื้อหาของกฎหมายที่ปรากฏเป็นหลักโดยผ่านกระบวนการบัญญัติกฎหมายเช่นรัฐธรรมนูญพระราชบัญญัติ 
   1.2 กฎหมายที่เป็นไม่เป็นลายลักษณ์อักษรเป็นกฎหมายที่มิได้มีการบัญญัติโดยผ่านกระ บวนการนิติบัญญัติเช่นจารีตประเพณีหลักกฎหมายทั่วไป
2. กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาและกฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่ง 
   2.1 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางอาญาตามประมวลกฎหมายอาญามาตรา 18 วรรคแรกบัญญัติโทษทางอาญาเช่นการประหารชีวิตจาคุกกักขังปรับหรือริบทรัพย์สิน 
   2.2 กฎหมายที่มีสภาพบังคับทางแพ่งได้บัญญัติถึงสภาพบังคับลักษณะต่างๆกันไว้สำหรับลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนหรือไม่กระทำตามที่กฎหมายบัญญัติไว้ 
3. กฎหมายสารบัญญัติและกฎหมายวิธีสบัญญัติ 
   3.1 กฎหมายสารบัญญัติแบ่งโดยคำนึงถึงบทบาทของกฎหมายเป็นหลัก 
   3.2 กฎหมายวิธีสบัญญัติกล่าวถึงวิธีการและขั้นตอนในการใช้กฎหมายบังคับ 
4. กฎหมายมหาชนและกฎหมายเอกชน 
   4.1 กฎหมายมหาชนเป็นกฎหมายที่กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับประชาชนรัฐเป็น ผู้มีอำนาจบังคับให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมายเพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคมเป็น เครื่องมือในการควบคุมสังคมคือกฎหมายมหาชนได้แก่กฎหมายรัฐธรรมนูญกำหนดระเบียบ 
   4.2 กฎหมายเอกชนเป็นกฎหมายที่มีความสัมพันธ์ระหว่างเอกชนด้วยกันเช่นกฎหมาย แพ่งและพาณิชย์ 
ข. กฎหมายภายนอกมีดังนี้ 
1. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีเมืองเป็นกฎหมายที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างรัฐต่อรัฐใน การที่จะต้องปฏิบัติต่อกันและกัน 
2. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีบุคคลเป็นข้อบังคับที่ว่าด้วยความสัมพันธ์ระหว่างบุคคลใน รัฐต่างรัฐๆ 
3. กฎหมายระหว่างประเทศแผนกคดีอาญาเป็นข้อบังคับที่ประเทศหนึ่งหรือรัฐหนึ่งตกลงยอมรับ ให้ศาลส่วนอาญาของอีกรัฐหนึ่งมีอำนาจในการพิจาณาลงโทษอาญาแก่บุคคลที่ได้กระทำผิดนอก ประเทศนั้นได้

4. ท่านมีความคิดเห็นอย่างไรว่าทำไมทุกประเทศจำเป็นต้องมีกฎหมาย จงอธิบาย
ตอบ มนุษย์จำต้องมีกฎเกณฑ์เพื่อการใช้ชีวิตในประเทศให้มีความสุข การอยู่ร่วมกันของมนุษย์ ก่อให้เกิดความขัดแย้ง ทำร้ายร่างกาย สาเหตุมาจากความไม่พึงพอใจ มีการแก่งแย่ง การแก้แค้นซึ่งกันและกัน ถ้ามีการใช้กำลังกันบ่อยเข้าสังคมมนุษย์จึงไม่อาจดำรงอยู่ได้ ระบบระเบียบแบบแผนที่มนุษย์สร้างขึ้นใช้เป็นแบบแผนเพื่อควบคุมควบความประพฤติสมาชิกในสังคมรวมทั้งเพื่อรักษาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม ดังนั้นทุกประเทศจำต้องมีกฎหมายเพื่อให้ดำรงอยู่ได้ซึ่งความเป็นมนุษย์ เพราะมนุษย์แต่ละคนมีกิเลสมีจิต รัก โลภ โกรธ หลง ฉะนั้นจึงต้องมีกฎเกณฑ์มาบังคับใช้มีบทลงโทษเพื่อมนุษย์ผู้กระทำผิดหรือผู้ที่คิดกระทำผิดมีความเกรงกลัวต่อกฎหมาย

5. สภาพบังคับทางกฎหมาย ท่านมีความเข้าใจว่าอย่างไร จงอธิบาย
ตอบ กฎหมายต้องมีสภาพบังคับ กฎหมายเป็นกฎเกณฑ์ที่กำหนดความประพฤติของมนุษย์ เพื่อให้มนุษย์จำต้องปฏิบัติตามกฎเกณฑ์ จึงจำเป็นต้องมีสภาพบังคับในกรณีที่มีการฝ่าฝืนกฎเกณฑ์ กฎหมายใดไม่มีสภาพบังคับ ไม่เรียกว่าเป็นกฎหมาย
สภาพบังคับ (SANCTION) ของกฎหมายคือโทษต่างๆในกฎหมาย ถ้าเป็นสภาพบังคับอาญา ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน ส่วนสภาพบังคับของกฎหมายแพ่ง ได้แก่การกำหนดให้การกระทำที่ฝ่าฝืนกฎหมายนั้นตกเป็นโมฆะหรือโมฆียะ

6. สภาพบังคับกฎหมายในอาญาและทางแพ่ง มีความเหมือนหรือแตกต่างกันอย่างไร
ตอบ แตกต่างกันด้วยสภาพบังคับ ในกฎหมายแพ่งนั้น มีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ ถ้าหากมีการล่วงละเมิดกฎหมายแพ่ง บุคคลผู้ร่วงละเมิดไม่ปฏิบัติตามคำพิพากษาของศาล ก็อาจะถูกยึดทรัพย์ขายทอดตลาดเอาเงินที่ขายได้มาชำระหนี้ตามคำพิพากษาของศาล มิฉะนั้นอาจถูกกักขังจนกว่าจะทำตามคำพิพากษาของศาลได้ ส่วนในกฎหมายอาญานั้นมีสภาพบังคับประเภทหนึ่ง คือ โทษทางอาญาซึ่งกฎหมายได้บัญญัติไว้สำหรับความผิด ได้แก่ประหารชีวิต จำคุก กักขัง ปรับ ริบทรัพย์สิน

7. ระบบกฎหมายเป็นอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ ระบบกฎหมายมี  2  ระบบ
            1. ระบบซีวิลลอร์ (Civil Law System) หรือระบบลายลักษณ์อักษร ถือกำเนิดขึ้นในทวีปยุโรปราวคริสต์ศตวรรษที่ 12 เป็นระบบเอามาจาก “Jus Civile” ใช้แยกความหมาย “Jus Gentium” ของโรมัน ซึ่งมีลักษณะพิเศษกล่าวคือ เป็นกฎหมายลายลักษณ์อักษรที่มีความสำคัญกว่าอย่างอื่น คำพิพากษาของศาลไม่ใช่ที่มาของกฎหมาย แต่เป็นบรรทัดฐานแบบอย่างของการตีความกฎหมายเท่านั้น เริ่มต้นจากตัวบทกฎหมายเป็นสำคัญ จะถือเอาคำพิพากษาศาลหรือความคิดเห็นของนักกฎหมายเป็นหลักไม่ได้ ยังถือว่ากฎหมายเอกชนและกฎหมายมหาชนเป็นคนละส่วนกัน และการวินิจฉัยคดีผู้พิพากษาเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด กลุ่มประเทศที่ใช้กฎหมายนี้ ประเทศยุโรป เช่น อิตาลี เยอรมัน ฝรั่งเศส สวิตเซอร์แลนด์และประเทศตะวันออก เช่น ไทย ญี่ปุ่น
2. ระบบคอมมอนลอว์ (Common Law System) เกิดและวิวัฒนาการขึ้นในประเทศอังกฤษมีรากเหง้ามาจากศักดินา ซึ่งจะต้องกล่าวถึงคำว่า “เอคควิตี้ (equity) เป็นกระบวนการเข้าไปเสริมแต่งให้คอมมอนลอว์ เป็นการพัฒนามาจากกฎหมายที่ไม่เป็นลายลักษณ์อักษร นำเอาจารีตประเพณีและคำพิพากษา ซึ่งเป็นบรรทัดฐานของศาลสมัยเก่ามาใช้ จนกระทั่งเป็นระบบกฎหมายที่มีความสมบูรณ์ในตัวเอง การวินิจฉัยต้องอาศัยคณะลูกขุนเป็นผู้ตัดสินชี้ขาด ประเทศที่ใช้ระบบกฎหมายนี้ เช่น อังกฤษ สหรัฐอเมริกา และประเทศในเครือจักรภพอังกฤษ

8. ประเภทของกฎหมายมีหลักการแบ่งอย่างไรบ้าง มีกี่ประเภท แต่ละประเภทประกอบด้วยอะไรบ้างยกตัวอย่างอธิบาย
ตอบ ประเภทของกฎหมาย ที่จะศึกษาแบ่งได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ๆ คือ ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย และประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน
1. ประเภทแบ่งตามระบบหรือที่มาของกฎหมาย 
   1.1. ระบบลายลักษณ์อักษร (Civil Law System) ประเทศไทยใช้ระบบนี้เป็นหลัก กระบวนการจัดทำกฎหมายมีขั้นตอนที่เป็นระบบ มีการจดบันทึก มีการกลั่นกรองของฝ่ายนิติบัญญัติคือ รัฐสภา มีการจัดหมวดหมู่กฎหมายของตัวบทและแยกเป็นมาตรา เมื่อผ่านการกลั่นกรองจากรัฐสภาแล้ว จะ ประกาศใช้เป็นกฎหมายโดยราชกิจจาอุเบกขา กฎหมายลายลักษณ์อักษรนี้ ได้แก่ กฎหมาย รัฐธรรมนูญ พระราชบัญญัติ พระราชกำหนด พระราชกฤษฎีกา กฎกระทรวง 
   1.2. ระบบไม่เป็นลายลักษณ์อักษรหรือจารีตประเพณี (Common Law System) เป็นกฎหมายที่มิได้มีการจัดประเพณีที่ใช้กันต่อๆมา ตั้งแต่บรรพบุรุษรวมทั้งบันทึกคำพิพากษาของ ศาลที่พิพากษาคดีมาแต่ดั้งเดิม ประเทศที่ใช้กฎหมายจารีตประเพณี หรือไม่เป็นลายลักษณ์อักษร ได้แก่ ประเทศอังกฤษและประเทศทั้งหลายในเครือจักรภพของอังกฤษ 
2. ประเภทแบ่งตามลักษณะการใช้กฎหมาย 
   2.1. กฎหมายสารบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงสิทธิและหน้าที่ของบุคคล กำหนด ข้อบังคับความประพฤติของบุคคลทั้งในทางแพ่งและในทางอาญา โดยเฉพาะในทางอาญา คือ ประมวลกฎหมายอาญาจะบัญญัติลักษณะการกระทำอย่างใดเป็นความผิดระบุองค์ประกอบความผิดและกำหนดโทษไว้ว่าจะต้องรับโทษอย่างไร และในทางแพ่ง คือ ประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ จะกำหนดสาระสำคัญของบทบัญญัติว่าด้วยนิติสัมพันธ์ระหว่างบุคคลในฐานะต่างๆ ตามกฎหมาย เช่น นิติกรรม หนี้ สัญญา เอกเทศสัญญา เป็นต้น 
   2.2. กฎหมายวิธีสบัญญัติ คือ กฎหมายที่บัญญัติถึงวิธีการปฏิบัติด้วยการนำเอากฎหมายสารบัญญัติไปใช้ไปปฏิบัตินั่นระบบ ขั้นตอนในการใช้ เช่น กำหนดอำนาจเจ้าหน้าที่ของรัฐในการดำเนินคดีอาญาต่อผู้ต้องหาวิธีการร้องทุกข์ วิธีการสอบสวนวิธีการนำคดีที่มีปัญหาฟ้องต่อศาล วิธีการพิจารณาคดีต่อสู้คดี ในศาลรวมทั้งการบังคับคดีตามคำสั่ง หรือคำพิพากษาของศาล เป็นต้น กฎหมายวิธีสบัญญัติ จะกำหนดไว้ในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณา ความอาญา ประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความแพ่งเป็นหลัก 
3. ประเภทแบ่งตามบทบัญญัติในกฎหมายที่มีความสัมพันธ์กับประชาชน 
   3.1. กฎหมายมหาชน เป็นกฎหมายที่รัฐตราออกใช้กำหนดความสัมพันธ์ระหว่างรัฐกับ ประชาชนการบริหารประเทศ รัฐมีฐานะเป็นผู้ปกครองประชาชนด้วยการออกกฎหมายและให้ประชาชนปฏิบัติตามกฎหมาย เพื่อให้เกิดความสงบเรียบร้อยแก่สังคม จึงตรากฎหมายประเภทมหาชนซึ่งเกี่ยวข้องกับประชาชนเป็นส่วนรวมทั้งประเทศ และทุกคนต้องปฏิบัติตามกฎหมายการไม่ปฏิบัติตามกฎหมายจะมีผลกระทบต่อบุคคลของประเทศเป็นส่วนรวมจึงเรียกว่า กฎหมายมหาชน กฎหมายประเภทนี้ ได้แก่ กฎหมายรัฐธรรมนูญ กฎหมายปกครอง เช่น พระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการ.แผ่นดิน กฎหมายอาญา เป็นต้น

9. ท่านเข้าใจถึงคำว่าศักดิ์ของกฎหมายคืออะไร มีการแบ่งอย่างไร
ตอบ ศักดิ์ของกฎหมาย คือ การจัดอันดับบังคับแบ่งกฎหมายหรือคำดังกล่าวได้ว่าอาศัยอำนาจขององค์กรที่ใช้จากองค์กรที่ต่างกันโดยกฎหมายในลำดับศักดิ์ที่สูงกว่า จะมีค่าบังคับกฎหมายที่มีลำดับศักดิ์ต่ำกว่า กล่าวคือกฎหมายที่มีลำดับของศักดิ์ต่ำกว่าใดมีเนื้อหาหรือข้อความขัดหรือแย้งกัน กฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่ากฎหมายล่างนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับได้ โดยลำดับศักดิ์ของกฎหมายมีดังนี้
1. กฎหมายรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย เป็นกฎหมายหลักที่ให้หลักประกันแก่ประชาชน หากมีกฎหมายใดออกมาขัดแย้งกับกฎหมายรัฐธรรมนูญมิได้ กฎหมายฉบับนั้นย่อมไม่มีผลใช้บังคับ ซึ่งเป็นกฎหมายแม่บทที่ยึดหลักในการปกครองและบริหารประเทศ ตอบสนองและสอดคล้องนโยบายที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญ
2. พระราชบัญญัติและประมวลกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ผ่านกระบวนการนิติบัญญัติโดยความเห็นชอบของรัฐสภา ที่เป็นตัวแทนของประชาชน และพระมหากษัตริย์ได้ลงพระปรมาภิไธย ใช้บังคับเป็นกฎหมาย เป็นกฎหมายที่ออกตามปกติธรรมดา
3. พระราชกำหนด เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยอาศัยอำนาจตามรัฐธรรมนูญ และทรงตราขึ้นตามคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีเฉพาะในกรณีที่มีเหตุผลพิเศษ กรณีเร่งด่วนหรือภาวะฉุกเฉินในการรักษาความปลอดภัย ความมั่นคง หรือรักษาผลประโยชน์ของประเทศ
4. ประกาศพระบรมราชโองการให้ใช้บังคับดังเช่นพระราชบัญญัติรัฐธรรมนูญฉบับปัจจุบันไม่ไดมอบอำนาจให้พระมหากษัตริย์ทรงออกกฎหมายในรูปพระบรมราชโอการได้แต่ใน รัฐธรรมนูญฉบับก่อนๆ ให้พระราชอำนาจไว้มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระราช กำหนดใช้ในยามที่มีสถานะสงครามหรือในภาวะคับขัน
5. พระราชกฤษฎีกา เป็นกฎหมายที่พระมหากษัตริย์ทรงตราขึ้นโดยคำแนะนำของคณะรัฐมนตรีหรือเป็นกฎหมายอื่นที่ฝ่ายบริหารได้ออกโดยอาศัยอำนาจแห่งกฎหมาย และพระราชกฤษฎีกาจึงมีศักดิ์ต่ำกว่าพระราชบัญญัติ พระราชกำหนด และประกาศพระบรมราชโองการและจะขัดกับกฎหมายที่มีศักดิ์สูงกว่าไม่ได้
6. กฎกระทรวง เป็นกฎหมายที่รัฐมนตรีผู้รักษาการตามพระราชบัญญัติหรือพระราชกำหนดเป็นผู้ออก เพื่อให้การดำเนินการให้เป็นไปตามกฎหมายหลักในเรื่องนั้นๆ เป็นการออกกฎกระทรวงโดยฝ่ายบริหาร เช่นเดียวกับพระราชกฤษฎีกา ต่างกับพระราชกฤษฎีกาตรงที่ว่าเป็นเรื่องสำคัญมาก ถ้าสำคัญรองลงมาก็จะออกเป็นกฎกระทรวง
7. ข้อบัญญัติจังหวัด เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนจังหวัด ให้อำนาจองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นที่มีอำนาจปกครองดูแลให้บริการสาธารณะแก่ประชาชนในท้องถิ่นที่องค์กรนั้นบริหารรับผิดชอบ จึงให้อำนาจองค์การบริหารส่วนจังหวัด มีอำนาจออกข้อบัญญัติจังหวัดเพื่อจัดเรียบสังคมดูแลทุกข์สุขของประชาชน มีผลใช้บังคับเฉพาะพื้นที่ในจงหวัดนั้นๆ จะบังคับนอกพื้นที่จังหวัดมิได้
8. เทศบัญญัติ เป็นกฎหมายที่ออกตามพระราชบัญญัติเทศบาล การแบ่งองค์การบริหารส่วนท้องถิ่นเป็น 3 ระดับคือ เทศบาลตำบล เทศบาลเมือง และเทศบาลนคร ซึ่งอาศัยความหนาแน่นของประชากรตามที่พระราชบัญญัติกำหนด
7. ข้อบังคับองค์การบริหารส่วนตำบล เป็นกฎหมายที่มีลำดับที่ต่ำที่สุด ออกตามพระราชบัญญัติองค์การบริหารส่วนตำบล องค์การบริหารส่วนท้องถิ่น มีอำนาจหน้าที่ที่จะปกครองดูแล และให้บริการสาธารณะแก่ตำบลเพื่อใช้ในการบริหารงานราชการในท้องถิ่นที่ของตำบลนั้น

10. เหตุการณ์เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายน 2555 มีเหตุการณ์ชุมนุมของประชาชน ณ ลานพระบรมรูปทรงม้าและประชาชนได้ประกาศว่าจะมีการประชุมอย่างสงบแต่ปรากฏว่ารัฐบาลประกาศเป็นเขตพื้นที่ห้ามชุมนุมและขัดขว้างไม่ให้ประชาชนชุมนุมอย่างสงบลงมือทำร้ายร่างกายประชาชนในฐานะท่านเรียนวิชานี้ท่านจะอธิบายบอกเหตุผลว่ารัฐบาลกระทำผิดหรือถูก
ตอบ ตามความในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 หมวด เรื่องสิทธิและเสรีภาพของปวงชนชาวไทยมาตรา 44 กำหนดว่า บุคคลย่อมมีสิทธิเสรีภาพในชุมนุมโดยสงบและปราศจากอาวุธการจำกัดเสรีภาพตามความในมนุษย์คนหนึ่ง จะกระทำมิได้เว้นแต่โดยอายัตยึดอำนาจตามกฎหมายที่มีขึ้นเพื่อรักษาความมั่นคงของรัฐ ความปรองดองสมานฉันท์ความสงบเรียบร้อยหรือศีลธรรมอันดีของประชาชนหรือเพื่อคุ้มครองสิทธิหรือเสรีภาพของบุคคลอื่น

11. ท่านมีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคำว่ากฎหมายการศึกษาอย่างไรจงอธิบาย
ตอบ กฎหมายการศึกษา กฎหมายรัฐธรรมนูญว่าด้วยการศึกษาคือ จะเป็นกฎหรือคำสั่งหรือข้อบังคับของรัฐที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาที่สถาบันหรือหน่วยงานผู้มีอำนาจได้ตราขึ้นบังคับใช้ และถือว่ากฎหมายทางการศึกษาฉบับแรกคือ พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ เพื่อให้ครูและบุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจกฎหมายการศึกษาให้มากขึ้น กฎหมายที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาจะสามารถนำไปใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างถูกต้องเกิดประโยชน์สูงสุดต่อการศึกษาของชาติอย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผลต่อไป 

12.  ในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชานี้ ถ้าเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษา ท่านคิดว่าเมื่อท่านไปประกอบอาชีพครูจะมีผลกระทบต่อท่านอย่างไร
ตอบ กฎหมายทางการศึกษาเป็นหัวใจสำคัญในการศึกษาที่จะทำให้คนมาเป็นครูได้นั้นจะต้องมีความรู้เกี่ยวกับกฎหมายว่ามีอะไรบ้าง มีข้อห้าม ข้อควรปฏิบัติอย่างไรทำให้เราได้เข้าใจและนำไปให้ทางการศึกษา การเรียนการสอน ฉะนั้นถ้าเราไม่รู้กฎหมายทางการศึกษาจะทำให้เกิดผลกระทบหลายด้าน ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของการจัดการศึกษาอย่างไรที่จะต้องเป็นไปเพื่อพัฒนาคนไทยให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์ทั้งร่างกาย จิตใจ สติปัญญา ความรู้ และคุณธรรม มีจริยธรรมและวัฒนธรรมในการดารงชีวิต สามารถอยู่ร่วมกับผู้อื่นได้อย่างมีความสุข และจะต้องจัดให้บุคคลมีสิทธิและโอกาสเสมอกันในการรับการศึกษานั้นต้องทำอย่างไร สิ่งเหล่านี้เป็นพื้นฐานที่คนเป็นครูจะต้องทราบเพื่อจะได้ส่งเสริมกระบวนการจัดการศึกษาให้ผู้เรียน ได้พัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ และเราไม่ศึกษากฎหมายการศึกษาก็จะทำให้เราไม่รู้ว่ากฎหมายต่างๆ มีอะไรบ้าง  

วันอาทิตย์ที่ 24 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2562

อนุทินที่ 1

ประวัติส่วนตัว



ชื่อ - สกุล: นายสวิตต์  นวลมิ่ง     ชื่อเล่น: สวิตต์
วัน/เดือน/ปีเกิด
: 3 ตุลาคม 2539 อายุ22 ปีี
การศึกษา
: กำลังศึกษาอยู่ชั้นปีที่ 4 คณะครุศาสตร์ สาขาภาษาอังกฤษ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครศรีธรรมราช
รหัสนักศึกษา: 5881114007
ความสามารถพิเศษ
: สามารถสื่อสารภาษาอังกฤษ ภาษาญี่ปุ่นได้ปานกลาง
งานอดิเรก: ฟังเพลงดูซีรี่ส์ฝรั่งอ่านนิยาย
ความใฝ่ฝัน
: อยากเที่ยวรอบโลก
คติประจำใจ: อะไรจะเกิด ก็ต้องเกิด
เบอร์ติดต่อ
: 062-978-7691


อุดมการณ์ความเป็นครูของตนเอง



อุดมการณ์เป็นสิ่งหนึ่งที่คอยย้ำเตือนเราว่าเรามาเป็นครูเพราะเราอยากเห็นอนาคตของเด็ก อยากเห็นเด็กที่เรารักได้เติบโตเป็นคนดีของสังคม มันคือความสุขของคนเป็นครู เราไม่จำเป็นต้องขวนขวายหาความสุขให้มันมากมาย ไม่สร้างหนี้สิน ไม่วิ่งตามกระแสสังคมนิยมและวัตถุนิยมอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย

เป้าหมายในชีวิตของตนเอง
                เป้าหมายในการใช้ชีวิตของตนเอง ก็คืออยากประสบความสำเร็จในชีวิตและการเป็นครู ประสบความสำเร็จในชีวิตคือ ได้เป็นครู รับราชการอย่างที่หวัง คอยดูแลพ่อแม่ไม่ให้ลำบาก ส่วนประสบความสำเร็จในการเป็นครูคืออยากสอนให้นักเรียนเข้าใจในบทเรียน เพราะเราจะมีความสุขทุกครั้งที่นักเรียนเข้าใจบทเรียนและสามารถนำไปประยุกต์ใช้ได้





อนุทินที่ 3

แบบฝึกหัด คำสั่ง หลังจากนักเรียนได้ศึกษาบทเรียนนี้แล้ว จงตอบคำถามต่อไปนี้ให้ถูกต้อง 1.  นักศึกษาอธิบายคำนิยามต่อไปนี้ ตามพระราชบัญ...